วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 6 การเรียนทางบล๊อก

การเรียนรู้การสร้างบล็อกและการใช้งานทางบล็อกมีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ที่จะนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่ง ข้าพเจ้าได้นำไปใช้ประโยชน์เป็นสื่อคอมพิวเตอร์ทำให้นักเรียนได้ฝึกการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว เป็นที่น่าสนใจ ช่วยให้นักเรียน เรียนรู้ข้อมูลที่ครูจัดเตรียมไว้ในบล็อกอย่างสนุกสนาน ข้าพเจ้าได้จัดหาความรู้ทางคณิตศาสตร์และข้อสอบ รวมทั้งความรู้รอบตัวในชีวิตประจำวันไว้ในบล็อก เพื่อให้นักเรียนมาเปิดศึกษาหาความรู้อย่างสร้างสรรค์ ข้าพเจ้าและนักเรียนมีความสุขกับการเรียนวิชานี้มาก
มีข้อดี
1. ไม่สิ้นเปลืองเงินทอง ซึ่งช่วยลดเวลาที่ใช้ในการสร้างเว็บไซต์ส่วนตัวของเราได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังไม่มีค่าใช้จ่ายในการเช้าพื้นที่บนอินเทอร์เน็ตอีกด้วย
2. เป็นสื่อที่ใช้ในการแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกของผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เพื่อเสนอให้ผู้คนสาธารณะได้รับรู้
3.เป็น เครื่องมือช่วยในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวขององค์กร เป็นต้น
4.เป็นแหล่งความรู้ใหม่ๆ ที่ถูกต้องและชัดเจน จากผู้นั้น เนื่องจากผู้เขียน บล็อก มักจะเขียนถึงเรื่องที่ตัวเองถนัด ชอบ และมีมีความรู้เฉพาะด้านๆความรู้ลึกในเรื่องนั้นๆ การค้นหาข้อมูลเฉพาะด้านใน บล็อก ต่างๆ จึงทำให้เราค้นพบความรู้ และผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น
5.ทำให้ทันต่อ เหตุการณ์ในโลกปัจจุบัน เพราะข่าวสารความรู้ มาจากผู้คนมากมาย(ทั่วโลก) และมักจะเปลี่ยนแปลงได้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบันเสมอ
6. เจ้าของบล็อกมีอิสระที่จะนำเสนอ อะไรก็ได้ ที่ไม่ไปก้าวล่วงบุคคลอื่น ที่ไม่ผิดกติกาของผู้ให้บริการบล็อกที่เราทำอยู่ ที่ไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรม ประเพณีที่ดีงาม
7. เปิดโอกาสให้บล็อกเกอร์ได้รับฟัง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้โดยอิสระ จะรับไว้ จะไม่อ่าน จะตอบ จะลบ ก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของเจ้าของบล็อก
8.ผู้ที่สร้างบล็อกสามารถ ปรับแต่งบล็อกให้เป็นรูปแบบที่ตนต้องการได้โดยไม่ต้องมีความรู้ในเรื่องภาษาคำสั่งของโปรแกรมมากมาย
9. มีโอกาสพอเจอเพื่อนใหม่ สามารถสร้างเครือข่าย ชุมชนสัมพันธ์ระหว่างบล็อกเกอร์ที่มีความคิด ความสนใจ ความรู้สึก ร่วมกันได้
ข้อเสียของการทำบล็อก
1.เจ้าของบล็อกมีอิสระในการนำเสนอบทความ โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบจากใครก่อน อาจโพสต์เรื่องที่ไม่เหมาะสมได้ ซึ่งเจ้าของบล็อก ต้องมีกติกาให้ตัวเอง หรือใช้จริยธรรมของแต่บุคคล ความมีเหตุมีผล ความระมัดระวัง รอบคอบในการโพสต์ข้อความต่างๆ
2. เนื้อหาที่อยู่ในบล็อก หากไม่ใช่ผลงานวิจัย หรือ วิทยานิพนธ์ ก็อาจมีความน่าเชื่อถือน้อย หากเกิดความผิดพลาดใดๆ ผู้ที่นำข้อมูลไปใช้อ้างอิง อาจประสบปัญหาได้
3. เป็นการเปิดโอกาสให้พวกที่ไม่หวังดี เข้ามาเปิดบล็อก ก่อกวน

กิจกรรมที่ 5 ภาพถ่ายการศึกษาดูงาน

วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่5 ประสบการณ์การศึกษาดูงาน

1. ขั้นตอนในการศึกษาดูงาน มีดังนี้
1.1 เขียนโครงการ ตั้งงบประมาณในการไปศึกษาดูงาน
1.2 ขออนุมัติโครงการกับสถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราชเพื่อไปศึกษาดูงาน
1.3 นำหนังสือขอศึกษาดูงาน ณ ต่างประเทศเสนอกับ ผู้อำนวยการโรงเรียนและทำหนังสือไปยัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 4 เพื่อขออนุญาตต่อ สพฐ.
1.4 รอคำสั่งอนุญาตของ สพฐ. เพื่อไปศึกษาดูงานยังต่างประเทศ
1.5 ออกเดินทางตั้งแต่วันที่ 24 – 28 มกราคม 2554
2. บรรยากาศสิ่งที่ได้ พบเห็นนำมาใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนหรือการบริหาร
วันที่จันทร์ที่ 24 มกราคม 2554
ออกเดินทางจาก ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช เวลา 04.00 น. มุ่งหน้าสู่ด่านสะเดา จ.สงขลา เมื่อถึงด่านดำเนินการประทับตราหนังสือเดินทาง ที่ด่านชายแดนไทยเข้าสู่ด่านจังโหลน ประเทศมาเลเซีย และเดินทางเข้าสู่สถานที่ศึกษาดูงานแห่งแรก คือ Sekolah Kebangsaan Kodiag school ได้ดูระบบการจัดการเรียนการสอน เป็นโรงเรียนเอกชนที่มีขนาดใหญ่มีความพร้อมและมีนักเรียนจำนวนมาก ข้าพเจ้าได้ไปดูบรรยากาศการสอนในชั้นเรียนที่มีภาษาในการสอนเป็นภาษามาเลเซีย ได้เห็นสิ่งแปลกใหม่ มีการแสดงสามารถนำมาใช้กับการเรียนดนตรีในห้องเรียนได้
วันอังคารที่ 25 มกราคม 2554
สถานที่ศึกษาดูงานได้แก่ ป้อมปืน ชมพระราชวังของประเทศมาเลเซีย ชมอนุสาวรีย์ทหารอาสา ชมเสาธงที่สูงที่สุดในโลก ชมตึกแฝด แวะร้านช็อคโกแลตเพื่อให้ทุกคนซื้อของฝาก ออกเดินทางสู่เก็นติ้งเมืองมหานครบนภูเขา บริเวณสถานีขึ้นกระเช้าไฟฟ้า ก็พบกับหมอกหนา อากาศเริ่มเย็น ฝนกำลังจะตก ไฟฟ้า พบกับบรรยากาศน่าตื่นเต้นเนื่องจากความสูงมากๆ ระหว่างที่กระเช้าขึ้นสู่เขา ดินแดนมหานครบนภูเขาสูง ทุกคนก็ตื่นตาตื่นใจ กับสิ่งที่ได้พบได้เห็น มันช่างเป็นสิ่งที่อัศจรรย์จริงๆ แสดงถึงความสามารถของมนุษย์ที่คิดสร้างมหานครแห่งนี้ สามารถนำประสบการณ์ความตื่นเต้นมาเล่าให้นักเรียนฟังได้ จากนั้นก็เข้าสู่ที่พัก โรงแรม First World รับประทานอาหารค่ำ มีอาหารให้เลือกมากมาย
วันพุธ ที่ 26 มกราคม 2554
เดินทางกลับโดยต้องลงด้วยรถบัสของเก็นติ้ง จากนั้นก็เดินทางมุ่งสู่สิงคโปร์ แต่ระหว่างทางก็แวะร้านดิวตี้ฟรี ร้านขนม นาฬิกา น้ำหอม และของฝาก ชมตึกรัฐสภา มัสยิดสีชมพู รับประทานอาหารค่ำ จากนั้นเดินทางต่อมุ่งหน้าสู่ยโฮบารูเมืองชายแดนติดกับประเทศสิงคโปร์ ถึงด่านแจ้งหนังสือเดินทางออกจากมาเลเซียเพื่อเข้าสู่ประเทศสิงคโปร์ที่ด่านวู๊ดแลนด์
วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม 2554
เดินทางไปชม สิงโตพ่นน้ำ สัญลักษณ์ของประเทศสิงคโปร์ เกาะเซ็นโตซ่า (Sentosa) ซึ่งเป็นเกาะที่สร้างขึ้นตามความคิดฝัน ชมยูนิเวอร์เซล ชมภาพยนตร์ 4 มิติ ( ตื่นเต้นมากๆ)นั่งรถไฟฟ้า ชมบรรยากาศรอบเกาะเซนโตซา รับประทานอาหารเย็น ชมน้ำพุเต้นระบำ Song of the sea ล่องเรือชมอ่าวสิงคโปร์ ออกจากสิงคโปร์กลับสู่ประเทศมาเลเซีย เข้าพักโรงแรม Selasa ซึ่งเป็นโรงแรมอยู่ชายแดนมาเลเซีย
วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2554
ซื้อของฝาก และเดินทางสู่ประเทศไทย รับประทานอาหารเย็นตามอัธยาศัย และเดินทางต่อถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เวลา 24.00 น.

วันศุกร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 4 ระบบข้อมูลโรงเรียนวัดเขาขุนพนม

๑. บริบทสถานศึกษา
๑. ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนวัดเขาขุนพนม ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๓ ตำบลบ้านเกาะ
อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช รหัสไปรษณีย์ ๘๐๓๒๐
โทรศัพท์ ๐๗๕ - ๓๓๘๔๒๔ โทรสาร ๐๗๕ - ๓๓๘๔๒๔
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๔
๒. ข้อมูลด้านการบริหาร
ผู้บริหาร นายสมวงค์ คิดใจเดียว
รองผู้บริหาร ชื่อ นายวินิต แสงหิรัญ
ประวัติโดยย่อ คำขวัญ และวัตถุประสงค์เฉพาะของสถานศึกษา
“ เรียนรู้ทันสมัย ใฝ่คุณธรรม กิจกรรมเด่น เน้นสัมพันธ์ชุมชน สนใจสิ่งแวดล้อม ”
๓. โอกาสและข้อจำกัดของโรงเรียน
โอกาส
โรงเรียนตั้งอยู่ในชุมชน ซึ่งเป็นชุมชนกึ่งเมือง การคมนาคมสะดวก บุคลากรในสถานศึกษามีความรอบรู้ มีศักยภาพ ชุมชนให้ความร่วมมือในการบริหารจัดการศึกษา ร่วมกิจกรรมของสถานศึกษาเป็นอย่างดี มีแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างหลากหลาย ทั้งแหล่งท้องถิ่นที่เป็นธรรมชาติและจัดสร้างขึ้นในสถานศึกษา นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาล) เป็นอย่างดี
ข้อจำกัด/อุปสรรค
บุคลากรในชุมชนได้รับการศึกษาน้อย ประกอบอาชีพรับจ้างและทำการเกษตรกรรม ซึ่งมีรายได้ไม่แน่นอน มีการเล่นการพนันในชุมชน ครอบครัวที่เล่นการพนันส่วนใหญ่เป็นครอบครัวที่แตกแยก มีการหย่าร้าง บุตรหลานถูกทอดทิ้งให้อยู่กับญาติผู้ใหญ่ที่แก่ชรา เช่น ปู่ย่า ตายาย ส่งผลต่อการดูแลเอาใจใส่และการสนับสนุนผู้เรียนด้านการศึกษา
๔. จุดเด่นระดับปฐมวัย
ด้านผู้เรียน
ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี มีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต มีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ มีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา มีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์
ด้านครู
ครูมีวุฒิ/ความรู้ ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบและมีครูเพียงพอ มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ด้านผู้บริหาร
ผู้บริหารมีภาวะผู้นำและมีความสามารถในการบริหารจัดการ มีการจัดองค์กร/โครงสร้างและการบริหารงานอย่างเป็นระบบครบวงจร ส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาการศึกษา มีการจัดกิจกรรมและการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีหลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น มีสื่อการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้
๕. จุดเด่นระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา)
ด้านผู้เรียน
ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ มีสุนทรียภาพ และลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา มีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์ มีความรู้ และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร
ด้านครู
ครูมีวุฒิ/ความรู้ ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบ และมีครูเพียงพอ มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ด้านผู้บริหาร
ผู้บริหารมีภาวะผู้นำและมีความสามารถในการบริหารจัดการ มีการจัดองค์กร/โครงสร้างและการบริหารงานอย่างเป็นระบบครบวงจร มีหลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น มีสื่อการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาการศึกษา มีการจัดกิจกรรมและการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
จุดควรพัฒนา
๑) ผู้เรียนควรได้รับการพัฒนาให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร โดยเฉพาะความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้
๒) ครูควรแสวงหาความรู้และเทคนิคใหม่ๆ รับฟังความคิดเห็น ใจกว้าง และยอมรับการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี
๒. ระบบข้อมูลสถานศึกษา
โรงเรียนวัดเขาขุนพนมมีนักเรียน จำนวน 532 คน
บุคลากรครู จำนวน 29 คน
นักการ จำนวน 2 คน
ในการบริหารจัดการศึกษาใช้หลักการมีส่วนร่วม คือ การร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติงาน ร่วมตรวจสอบ และร่วมกันปรับปรุงแก้ไขโดยอาศัยวงจรพัฒนาคุณภาพของเดมมิ่ง PDCA ภายใต้การมีทีมงานที่ดี มีความสามัคคี ประสานความร่วมมือกันเป็นอย่างดี และมีการจัดองค์กรและโครงสร้างการบริหารที่ชัดเจน มีการรับทราบโดยทั่วกัน ใช้แผนปฏิบัติราชการ ๓ ปี และแผนปฏิบัติงานประจำปีเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน โดยกำหนดปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายการพัฒนาไว้ การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน(School – Based Management :SBM ) มีคณะกรรมการสถานศึกษา ร่วมกันบริหารจัดการศึกษาให้สอดคล้องและตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครอง และชุมชน
๓. ระบบนวัตกรรมที่ข้าพเจ้าใช้ในการเรียนการสอนและนำมาใช้กับเรื่องที่อาจารย์สอนมี
ดังนี้
ข้าพเจ้ารับผิดชอบสอนสาระคณิตศาสตร์ ตามนโยบายของสพป.นศ.4 ให้นักเรียนศึกษาและจัดทำโครงงาน คนละ 1 เรื่อง ข้าพเจ้าได้จัดหาตัวอย่าง และวิธีการทำโครงงานเป็นสื่อในการสอน และนำสื่อไปแสดงหน้าบล๊อกให้นักเรียนได้ศึกษาและให้นักเรียนจัดทำโครงงานที่ตัวเองสนใจกลุ่มละ 1 เรื่อง เมื่อนักเรียนมีโอกาสได้ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองทำให้นักเรียนสามารถจดจำได้นาน และยังเป็นการเพิ่มการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศโดยใช้บล๊อกเป็นแหล่งเรียนรู้ทำให้เป็นที่สนใจอยากที่จะทำงานให้สำเร็จ

วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 3

สรุปขั้นตอนการใช้โปรแกรม SPSS

การใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัย
* Title Bar บอกชื่อไฟล์
* Menu Bar คำสั่งการทำงาน
* Cell Editor กำหนดค่าตัวแปร
* Cases ชุดของตัวแปร
* Variable กำหนดชื่อตัวแปร
* View Bar มีสองส่วน
* Variable View
สร้างและแก้ไขโครงสร้างตัวแปร
--Data View
1. การเรียกใช้งานโปรแกรม SPSS
คลิกที่ปุ่ม Start เลือก All Program คลิกที่ Program SPSS ก็จะปรากฏหน้าต่างของโปรแกรม SPSS
2. สร้างแฟ้มข้อมูล
- สร้างแฟ้มข้อมูล คือ การบันทึกข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากแบบสอบถาม
1. Data View
2. Variable View
การสร้างแฟ้มข้อมูล Data Editor Variable View จะปรากฏดังนี้
1. การตั้งค่าต่างๆ ลงใน Variable View โดยมีเมนูย่อย ดังนี้
1. Name ตั้งชื่อตัวแปร เช่น เพศ
2. Type กำหนดชนิดของตัวแปร
3.Numeric เป็นตัวแปรชนิดตัวเลข
4.Comma เป็นตัวแปรชนิดตัวเลข และโปรแกรม จะใส่เครื่องหมาย Comma Dot เป็นตัวแปรชนิดตัวเลข และมี Comma หนึ่งอัน สำหรับคั่นทศนิยม
5.Width คือ ความกว้างของข้อมูลโดยรวมจุดและจำนวนหลักหลังจุดทศนิยม
6.Decimals คือ จำนวนหลักหลังจุดทศนิยม กำหนดทศนิยมได้สูงสุด 10 หลัก
7.Label ส่วนที่ใช้อธิบายความหมายชื่อตัวแปร เนื่องจากการกำหนดชื่อตัวแปรที่ Name กำหนดได้เพียง 8 ตัวอักษร เพื่อประโยชน์ตอนแสดงผลลัพธ์
8.Values กรณีที่ข้อมูลเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ ต้องกำหนดค่าตัวเลข (Value)
9.Missing เป็นการกำหนดค่าที่ไม่สมบูรณ์ ดังนั้น ผู้วิจัยเลือก Discrete Missing Values แล้วพิมพ์ตัวเลขลง ใช้แทนความหมายบางค่าที่ไม่สมบูรณ์ เช่น 9, 99, 999 คำถามเกี่ยวกับเพศ มีคำตอบให้เลือกดังนี้ เพศชาย เพศหญิง โดยผู้วิจัยจะกำหนดค่าที่เป็นไปไม่ได้สูงสุดของตัวแปรนั้นมาเป็นรหัส คือ 9
10.Columns เป็นการกำหนดความกว้างของ Column Align เป็นการกำหนดให้ค่าของข้อมูลแสดงชิดซ้าย ขวา หรือกลาง
11. Measure การกำหนดลักษณะข้อมูลว่าเป็น Scale, Ordinal หรือ Nominal Scale คือ ข้อมูลที่ใช้วัด Ordinal คือ เลขแสดงลำดับ Nominal คือ ข้อมูลนามบัญญัติ

3. การพิมพ์ค่าข้อมูล Data View
เมื่อผู้วิจัยกำหนด Variable View เรียบร้อยแล้ว ให้กลับมาที่ Data View เพื่อพิมพ์ค่าของข้อมูลต่างๆ ตามที่ผู้ตอบข้อมูลในแบบสอบถามทุกฉบับ และบันทึกแฟ้มข้อมูลทุกครั้งด้วยคำสั่ง File Save
4. การวิเคราะห์ข้อมูล
เมื่อผู้ทำการวิจัยจัดการกับข้อมูลเสร็จแล้ว จะวิเคราะห์ข้อมูลแต่ละด้าน มีวิธีการ ดังนี้
- คลิกที่แถบคำสั่ง Transform เลือก compute แล้วดำเนินการจัดการกับข้อมูลตามแบบสอบถาม แต่ละด้าน แล้วเลือกคลิก OK ก็จะได้ทราบค่าสถิติเบื้องต้น
- การนำเสนอข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น วิธีการทางสถิติที่นิยมใช้กันมาก คือ
- การแจกแจงความถี่ในรูปของตารางทางเดียว
- การแจกแจงความถี่ในรูปของตารางหลายทาง
- การแจกแจงความถี่ในรูปของกราฟ
- การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเบื้องต้น การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาโดยโปรแกรม SPSS
5. การแจกแจงความถี่ในรูปของตารางทางเดียว
เป็นการแจกแจงข้อมูลโดยใช้ ตัวแปรเพียงตัวเดียว มีขั้นตอน ดังนี้
1. เลือกคลิกเมนูและคำสั่งตามลำดับ ดังนี้ Analyze Frequencies จะปรากฏวินโดวส์ของ Frequencies ดังนี้ Descriptive Statistics
2. เลือกตัวแปรที่ต้องการศึกษาไปไว้ในบล์อคของ Variable(s)
3. คลิกที่ปุ่ม OK จะปรากฏผลลัพธ์ในวินโดวส์ Output

สรุปความรู้ที่ได้รับจากฝึกปฏิบัติ การใช้งานโปรแกรมspss
1.กำหนดค่าใน variable view
- name พิมพ์ ชื่อ เพศ,a1,a2,......,d3
- width ระบุตัวเลขความกว้างที่ต้องการ
- deimals เลือกจุดทศนิยมที่ต้องการ (0)
- value-ใส่ค่า 1น้อยที่สุด 2น้อย 3ปานกลาง 4มาก 5มากที่สุด
2.พิมพ์ข้อมูลใส่ใน data view ตามลำดับข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ทั้งหมด
3.การวิเคราะห์ข้อมูล
- transform-compute-พิมพ์หัวข้อ taใน target variable
- เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [a1,a2,a3,a4]/4 คลิก ok
- transform-compute-พิมพ์หัวข้อ tbใน target variable
- เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [b1,b2,b3,b4]/4 คลิก ok
- transform-compute-พิมพ์หัวข้อ tcใน target variable
- เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [c1,c2,c3,c4]/4 คลิก ok
- transform-compute-พิมพ์หัวข้อ tdใน target variable
- เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [d1,d2,d3]/3 คลิก ok
- คลิก analyze-descriptive statistic - frequencies คลิกเลือกหัวข้อเพศ,a1,a2,...d3 แล้วคลิก ok แสดงประมวลผลการใช้ใช้โปรแกรม SPSS